9/14/2551




>>> เชื่อหรือไม่ว่า ปรากฎการณ์ Storm Surge เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยมาแล้ว! และเคยเกิดบ่อยครั้งด้วย ซึ่งแต่ละครั้งก็นำมาซึ่งความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง....<<<
/// OoO ย้อนกลับไปเมื่อปี 2532 เกิดพายุไต้ฝุ่น เกย์ (คุ้นๆ ใช่ไหมล่ะ) พัดถล่ม จังหวัดชุมพร มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคน ต่อมาปี 2540 พายุลินดา ก็พัดซ้ำรอยเดิม ใน จังหวัดชุมพร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดเพชรบุรี ครั้งนี้มีผู้เสียชีวิตน้อยกว่า ทว่าก็สร้างความเสียหายมากครั้งหนึ่งเช่นกัน และครั้งสำคัญในปี 2505 พายุที่แหลมตะลุมพุก อันเกิดจากพายุโซนร้อนแฮเรียต ได้กลายเป็นประวัติศาสตร์อันน่าโศกเศร้า ยังมาซึ่งความเสียหายต่อชีวิต และภูมิประเทศ โดยในครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิตกว่าพันคน!!!
/// หันมาดูในฝั่งกรุงเทพฯ กันบ้าง เมื่อปี 2504 Storm Surge ก็เคยมีปรากฏการณ์เกิดพายุใหญ่ซัดเข้ามาในอ่าวไทย จนเกิดน้ำท่วมกรุงเทพฯ เช่นกัน และในปี 2526 ก็เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่าฝนพันปี มีน้ำท่วมและขังในพื้นที่นาน ที่สำคัญ การเกิดขึ้นของพายุได้สร้างความเสียหายต่อการกัดเซาะชายฝั่งของกรุงเทพฯ จนเป็นพื้นที่ที่เรียกว่าทะเลตรม และไม่สามารถป้องกันน้ำทะเลได้ในหลายจุด อ่านมาถึงตรงนี้แล้วเริ่มรู้สึกว่า Storm Surge เป็นเรื่องใกล้ตัวกันบ้างแล้วใช่ไหมหล่ะคะ
. . . แล้ว Storm Surge เกิดขึ้นได้อย่างไรกัน??? …เรื่องนี้ นาวาเอก กตัญญู ศรีตังนันท์ ผู้บังคับหมวดเรืออุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ให้คำอธิบายว่า…
Storm surge คือ ปรากฏการณ์คลื่นที่เกิดขึ้นพร้อมกับพายุหมุนโซนร้อน ที่ยกระดับน้ำทะเลให้สูงขึ้นกว่าปกติ อันเนื่องมาจากความกดอากาศต่ำที่ปกคลุม ณ บริเวณนั้น ซึ่งเวลาที่หย่อมความกดอากาศต่ำเคลื่อนตัวผ่านไปพร้อมกับศูนย์กลางของพายุ ทำให้แรงกดนั้นยกระดับน้ำจนกลายเป็นโดมน้ำขึ้นมา โดยเคลื่อนตัวจากทะเลซัดเข้าหาชายฝั่ง
*****
ที่สำคัญยิ่งความกดอากาศต่ำเท่าไร ก็จะทำให้เกิดปรากฏการณ์คลื่นพายุหมุนมากเท่านั้น หากจะวัดเป็นตัวเลข ก็มีความหมายว่า ความกดอากาศต่ำที่ลดลง 1 มิลลิบาร์ จะทำให้น้ำทะเลสูงขึ้น 1 เซนติเมตร